France Travel

http://tourfrance.bizhat.com

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 550,000 ตารางกิโลเมตร
เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างที่สุด ในยุโรปตะวันตก (เกือบ 1 ใน 5 ของสหภาพยุโรป) มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลกว้างขวางมาก (เขตเศรษฐกิจเฉพาะประมาณ 11 ล้านตารางกิโลเมตร)

ลักษณะภูมิประเทศ
ประเทศฝรั่งเศส เป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมีความมั่งคั่ง ซึ่งเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1940 ได้ถูกจัดอันดับ ให้เป็นหนึ่ง ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรม มีการตั้งโรงงาน มากมาย ตามเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วประเทศ ธุรกิจด้านบริการถูกจัดให้มี บทบาท ในสังคมฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน ซึ่งมากกว่า 60% ของผู้ที่ใช้แรงงานอยู่ใน ธุรกิจด้านนี้

ฝรั่งเศสมีดินที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก และทำให้ฝรั่งเศสมีชื่อเสียงในการทำไวน์ระดับโลก ประเทศฝรั่งเศส มีเศรษฐกิจที่มั่นคง ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 5 รองลงมาจาก อเมริกา, เยอรมัน, ญี่ปุ่น และ อังกฤษ

ภูมิประเทศเป็นที่ราบ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด
เทือกเขาที่สำคัญ : ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ (Alpes) ยอดเขาสูงสุดในยุโรปตะวันตก คือ ม็องต์บล็อง : Mont Blanc ซึ่งอยู่ในเขตประเทศฝรั่งเศส สูง 4,807 เมตร เทือกเขาฟีรีนีส (Pyrenees) ชูรา (Jura) อาร์แดน (Ardennes) มาสชิฟซ็องทรัล (Massif Central) และโวจ (Vosges)

ชายฝั่งทะเล: มีอาณาเขตติดทะเล 4 ด้าน ได้แก่ ทะเลเหนือ (Mer du Nord) ช่องแคบอังกฤษ (Manche) มหาสมุทรแอตแลนตอก (Atlantique) และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranee) รวมความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น 5,500 กิโลเมตร

France Information
ภูมิอากาศ

แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ อากาศแบบมหาสมุทร (ภาคตะวันตก) แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ภาคใต้) และแบบภูเขา (ภาคกลางและตะวันออก)

สิ่งแวดล้อม
เนื้อที่ทำการเพาะปลูกและป่าไม้กว่า 48 ล้านเฮกตาร์ (Hectare) คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 82 ของพื้นที่

พื้นที่ป่าคิดเป็นประมาณร้อยละ 27 ของพื้นที่ประเทศ ทำให้ฝรั่งเศสได้รับการ จัดให้เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปที่มีพื้นที่ป่า รองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ฝรั่งเศสมีพรรณไม้กว่า 136 ชนิด และสัตว์ป่าจำนวนมาก ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมากวางป่าเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น 2 เท่าของจำนวนที่มีอยู่เดิม

ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รัฐบาลฝรั่งเศสจัดตั้งวน อุทยานแห่งชาติขึ้น 6 แห่ง เขตสงวนธรรมชาติ 128 แห่ง เขตคุ้มครองพิเศษ 430 แห่ง และเขตคุ้มครองชายฝั่งทะเล 299 แห่ง ฝรั่งเศสยังมีอุทยาน ธรรมชาติส่วนภูมิภาคอีก 29 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ

ฝรั่งเศสเป็นภาษีของกลุ่มสนธิสัญญา ระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ตามข้อตกลงต่าง ๆ หลายฉบับของสหประชาชาติว่าด้วย ชั้นบรรยากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการต่อสู้ภัยความแห้งแล้ง

France Info
ประชากร

60.4 ล้านคน (สถิติเมื่อปี 2000)
ความหนาแน่นของพลเมือง : 107 คน ต่อตารางกิโลเมตร
ฝรั่งเศสมีชุมชนที่มีประชากรมากกว่า 150,000 คน ถึง 52 แห่ง รวมประชากรกว่า 30 ล้านคน เมืองใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรก (สถิติปี 1999 ) คือ
ปารีส (Paris) 10.6 ล้านคน
ลีย็อง (Lyon) 1.6 ล้านคน
มาร์แซย (Marseille) 1.4 ล้านคน
ลีลย์ (Lille) 1.1 ล้านคน
ตูลูส (Toulouse) 0.8 ล้านคน

เศรษฐกิจ
ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูง มีความมั่งคั่ง ซึ่งเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1940 ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่ง ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรม มีการตั้งโรงงานมากมาย ตามเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วประเทศ ธุรกิจด้านบริการถูกจัดให้มีบทบาทในสังคม ฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน ซึ่งมากกว่า 60% ของผู้ที่ใช้แรงงานอยู่ในธุรกิจด้านนี้

ฝรั่งเศสมีดินที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมาก และทำให้ฝรั่งเศสมีชื่อเสียงในการทำไวน์ระดับโลก ประเทศฝรั่งเศส มีเศรษฐกิจที่มั่นคง ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 5 รองลงมาจาก อเมริกา, เยอรมัน, ญี่ปุ่น และ อังกฤษ

ค่าครองชีพ
การใช้ชีวิตในฝรั่งเศสอย่างสุขสบาย ควรมีรายได้เดือนละประมาณ 4,000 ฟรังก์ หรือ 5,000 ฟรังก์ในปารีส หากต่ำกว่านี้ ความเป็นอยู่อาจไม่สะดวก สบายนัก

รายได้เหล่านี้ จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับที่พัก อาหาร การประกัน สุขภาพ และค่าเล่าเรียน โดยมีเงินเหลือสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมทั้งสำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรม กีฬา งานเทศกาล ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป ในฝรั่งเศส

ค่าครองชีพจะสูงขึ้นในปารีส แต่การพักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด จะมีค่าใช้จ่าย ที่ต่ำกว่า และมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายกว่ามาก อีกทั้งการอยู่ในต่างจังหวัด คุณก็สามารถใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถเข้าสู่ปารีสได้ด้วย ระบบ คมนาคมชั้นเยี่ยม (TGV รถไฟที่ได้ว่าเร็วที่สุดในโลก) คุณสามารถใช้เวลา ในห้วงสุดสัปดาห์เข้าสู่ปารีสได้บ่อยครั้ง ตามความต้องการของคุณ

ภาษา
    โดยทั่วไป ชาวฝรั่งเศสมีความคิดว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส จะพูดภาษา ฝรั่งเศสเป็น ปัจจุบันนี้ชาวฝรั่งเศส สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นหนุ่ม สาวที่อาศัยอยู่ตามเมืองสำคัญและ ในแถบนัก ท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามผู้ที่อาศัย อยู่เมืองที่ไกลออกไป ก็จะมีน้อยมาก ที่พูดภาษาอังกฤษได้ แต่ก็พยายามที่จะ สื่อสาร กับนักท่องเที่ยว หรือผู้มา เยี่ยมเยือน (อาจจะเป็นการยากสำหรับ นักเรียนที่ จะเข้าใจในสำเนียงของ คนท้องถิ่น แต่ความตั้งใจ และรอยยิ้มก็จะชนะ อุปสรรคทั้งหมด)

    สำหรับนักเรียนที่จะมาเรียนที่ฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรที่สอนเป็นภาษา อังกฤษ อยากจะแนะนำว่าควรจะมีพื้นฐานภาษาฝรั่งเศสมาบ้าง เพื่อใช้ในการ สื่อสารในชีวิต ประจำวัน

การคมนาคม
 

  1. การขนส่ง ระบบขนส่งสาธารณะในฝรั่งเศสมีระบบที่ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ ตามเมืองใหญ่ ๆ ที่สำคัญสามารถ เดินทางได้อย่างทั่วถึง โดยรถโดยสารและรถไฟใต้ดิน (metro) ในช่วงชั่วโมงรีบด่วน การเดินทาง โดยทั้ง 2 แบบมีความแออัดมาก ค่าตั๋วโดยสารแต่ละเที่ยวประมาณ 8 ฟรังค์ แต่หากซื้อเป็นลักษณะตั๋ว carnet 10 เที่ยวราคาประมาณ 52 ฟรังค์ สำหรับผู้ที่เดินทางบ่อย สามารถใช้อัตราตั๋วเดือน ซึ่งราคาจะถูกกว่าซึ่ง สามารถใช้ได้กับรถไฟ ใต้ดิน, รถโดยสาร หรือรถไฟระหว่างเมือง ในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ทุกครั้งควรจะระวังการล้วงกระเป๋าด้วย
  2. แท็กซี่ ในช่วงชั่วโมงรีบด่วนการใช้บริการแท๊กซี่ อาจไม่สะดวก นักเนื่องจากมีผู้ใช้มาก และการใช้บริการนี้มี อัตราค่อนข้างสูง และทุกครั้งจะต้องมีการให้ทิป 10 เปอร์เซ็นต์ สำหรับคนขับรถแท็กซี่ สามารถรับผู้โดยสารไม่เกิน 3 ท่าน และเฉพาะเบาะหลังเท่านั้น

ความปลอดภัย
เช่นเดียวกับเมืองหลายแห่งในโลก เมืองสำคัญในฝรั่งเศสก็ยังคงมีปัญหาบ้างในเรื่องความปลอดภัย มีปัญหาการว่างงานอย่างแพร่กระจายในฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส ในบางแห่ง อาทิเช่น บริเวณรถไฟใต้ดิน ควรระวังอันตรายที่เกิดจาก การฉกชิงวิ่งราว การฉกกระเป๋า ดังนั้นหากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลา ค่ำคืน เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งควรจะเพิ่มความ ระมัดระวัง เพื่อให้ช่วงเวลาที่อยู่ในฝรั่งเศสเป็นช่วงความ ทรงจำที่ดี

Learn French

สถาบันการเมืองการปกครอง

รัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 1958 ได้ระบุบทบาทหน้าที่ของสถาบันต่างๆของสาธารณรัฐที่ 5 ไว้ ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขรายละเอียดบางส่วนของรัฐธรรรมนูญดังกล่าวหลายครั้ง เช่น การให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง (1962) การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของรัฐมนตรี (1993) การให้มีการประชุมสภาเพียงสมัยเดียว การขยายขอบข่ายที่จะให้มีการออกเสียงประชามติ (1995) การกำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับสถานภาพของนิวแคลีโดเนีย (1998) การจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและเงินตรา การให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันสำหรับการอยู่ในวาระเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง การยอมรับขอบข่ายอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ (1999) การลดระยะเวลาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี (2000)

ศาลรัฐธรรมนูญ

ประกอบด้วยตุลาการ 9 คน มีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งให้ดำเนินไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและดูแลความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.conseil-constitutionnel.fr

ประธานาธิบดี

 
ฯพณฯ ชากส์ ชีรัก

  ประธานาธิบดีซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขของสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตามประชามติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2000)

นายฌากส์ ชีรักประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้รับเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2002 หลังจากได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเป็นวาระแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1995 นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 ของสาธารณรัฐที่ 5 ของประเทศฝรั่งเศส

 

ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อ (มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ)

ประธานาธิบดีเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกาศใช้กฎหมาย เป็นผู้นำของทุกเหล่าทัพและสามารถประกาศยุบสภา ในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงสามารถใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 16

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.elysee.fr

นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล

ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศและเป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายดังกล่าว นายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา (มาตรา 20) นายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลกิจการต่างๆของรัฐบาลและดูแลการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ (มาตรา 21) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายฌอง-ปิแอร์ ราฟฟาแรง ได้รับการแต่งตั้งจากนายฌาคส์ ชีรักเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2002

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.premier-ministre.gouv.fr

รัฐสภา

ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร

- วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยอ้อม สมาชิกวุฒิสภามีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 9 ปีโดยมีการเลือกตั้งหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดใหม่ทุก 3 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2001
- สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2002

นอกเหนือจากการควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาลแล้ว สภาทั้งสองยังมีหน้าที่พิจารณาร่างและลงมติกฎหมายต่าง ๆ ในกรณีที่ทั้งสองสภามีความเห็นแย้งกัน ให้ยืนตามมติของสภาผู้แทนราษฎร

วุฒิสภา

การเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2001 สมาชิกทั้งหมด 321 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆดังนี้

กลุ่ม Rassemblement pour la République 95 คน
กลุ่มสังคมนิยม 83 คน
กลุ่ม Union Centriste 53 คน
กลุ่ม Républicains et Indépendants 41 คน
กลุ่ม Rassemblement démocratique et social européen 20 คน
กลุ่ม Communiste , républicain et citoyen 23 คน
ไม่สังกัดกลุ่มการเมืองใดๆ  6 คน

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.senat.fr

สภาผู้แทนราษฎร

การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 และ 16 มิถุนายน 2002 ผู้แทนราษฎรทั้งหมด 577 คนมาจากกลุ่มการเมืองต่างๆดังนี้

 กลุ่ม Union pour la Majorité Présidentielle            356 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 9 คน)
 กลุ่มสังคมนิยม           140 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 1 คน)
 กลุ่ม Union pour la Démocratie Française             27 คน (รวมผู้ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันอีก 2 คน)
 กลุ่ม député-e-s communistes et républicains             22 คน
 ไม่สังกัดกลุ่มการเมืองใดๆ             20 คน

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.assemblee-nationale.fr

ฝ่ายตุลาการ

โครงสร้างขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมของประเทศฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเสรีภาพส่วนบุคคล (มาตรา 66 แห่งรัฐธรรมนูญ) แบ่งออกเป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกันเองและศาลปกครองที่พิจารณาข้อพิพาทระหว่างประชาชนและอำนาจรัฐ

ในส่วนของศาลยุติธรรม ยังแบ่งความรับผิดชอบเขตอำนาจศาลออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีศาลคดีเด็กและเยาวชน (Tribunal pour Enfants) ซึ่งถือเป็นเขตอำนาจศาลที่แตกต่างจากที่กล่าวมาเนื่องจากจะรับพิจารณาเฉพาะคดีแพ่งและอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน

ศาลฎีกา (Tribunal de Cassation) เป็นกระบวนการยุติธรรมชั้นสูงสุด รับผิดชอบการพิจารณาตรวจสอบข้อกฎหมายของอรรถคดีที่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

สำหรับคดีความระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน เขตอำนาจศาลสูงสุดคือศาลปกครอง (Conseil d'Etat) ซึ่งจะพิจารณาพิพากษาความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางการปกครองและกฎระเบียบต่างๆ ที่ออกโดยฝ่ายปกครอง คำพิพากษาของศาลปกครองถือเป็นที่สุด นอกจากนี้ศาลปกครองยังเป็นผู้พิจารณาร่างกฎหมายหรือกฎษฎีกาบางฉบับที่รัฐบาลส่งเรื่องมาเพื่อขอทราบความเห็น

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.justice.gouv.fr และ www.conseil-etat.fr

เพลงชาติและคำขวัญ

ลามาร์แซแยส (La Marseillaise) เป็นเพลงชาติของฝรั่งเศสมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 1795 แต่เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า Chant de guerre pour l'armée du Rhin ซึ่งประพันธ์ขึ้นที่เมืองสตราสบูรก์เมื่อปี 1792

คำขวัญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสคือ เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ

ธงชาติของฝรั่งเศส

แต่เดิมสีน้ำเงินแดงเป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังรักษากรุงปารีส ต่อมาในปี 1789 นายพลลาฟาแยตต์เพิ่มสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ นับแต่นั้นมาสีน้ำเงินขาวแดงจึงเป็นสีของธงชาติและกลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

การป้องกันประเทศ

ในปี 2000 งบประมาณป้องกันประเทศสูงถึง 2.866 หมื่นล้านยูโร (1.88 แสนล้านฟรังก์) คิดเป็นร้อยละ 2.05 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและร้อยละ 11.29 ของงบประมาณโดยรวม

เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางทหารในระดับภูมิภาคยุโรป ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัก ผู้นำเหล่าทัพตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ ได้ประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1996 ให้มีการปฏิรูปทางทหารครั้งใหญ่ กล่าวคือ

  • การให้กองทัพมีความเป็นอาชีพมากขึ้น เช่น ในปี 2002 จะลดกำลังพลเหลือ 350,000 นาย
  • การปรับปรุงศักยภาพทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของฝรั่งเศสซึ่งนับแต่นี้ไปจะเป็นในกรอบของความร่วมมือในระดับภูมิภาคยุโรป
  • การยกเลิกการเกณฑ์ทหารและใช้วิธีให้ผู้สมัครใจเข้าเป็นทหารแทน
  • การป้องปรามมิให้ใช้อาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักสำหรับนโยบายทางการทหารของฝรั่งเศสจะได้รับการขยายไปในระดับภูมิภาคยุโรปมากยิ่งขึ้น
  • ยืนยันพันธกรณีของฝรั่งเศสในการเข้าร่วมกองกำลังทหารร่วมของยุโรป

ในปี 2001 บุคลากรสังกัดเหล่าทัพต่างๆ ของฝรั่งเศสมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 516,112 คน และขึ้นอยู่กับกองทัพต่างๆ ดังนี้

  • กองทัพบก 219,538 คน
  • กองทัพอากาศ 70,802 คน
  • กองทัพเรือ 59,450 คน
  • ตำรวจสังกัดกระทรวงกลาโหม 100,358 คน
  • 65,954 คนกระจายอยู่ในหน่วยสนับสนุน (อาทิเช่น หน่วยงานด้านสุขภาพ หน่วยงานบรรเทาทุกข์ ฯลฯ)

ชีวิตความเป็นอยู่

 

จากการสำรวจสำมะโนประชากรในเดือนมีนาคม 1999 ประชากรของฝรั่งเศสทั้งในส่วนภาคพื้นทวีปและโพ้นทะเลนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2000 มีทั้งสิ้น 60.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติ 4 ล้านคน ซึ่ง 1.5 ล้านคนมาจากประเทศต่างๆในสหภาพยุโรป ประชากรฝรั่งเศสคิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรโดยรวมของสหภาพยุโรปในช่วงระยะเวลา 10 ปี (1988-1998) ชายฝรั่งเศสมีอายุยืนยาวขึ้นกว่าเดิม 2 ปี (74 ปี) และ 3 ปีสำหรับผู้หญิง (82 ปี)

ประชากร

สถิติทางด้านประชากรศาสตร์ (ปี 2000)

* จำนวนเด็กที่เกิด 778,900 คน

อัตราเจริญพันธุ์เท่ากับ เด็ก 1.89 คนต่อ หญิง 1 คน
อัตราการเกิด ร้อยละ 13

* จำนวนคนตาย 538,300 คน

อัตราการตาย ร้อยละ 9

* จำนวนคู่สมรส 304,300 คู่

นับแต่ต้นทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา จำนวนคู่สมรสได้ลดน้อยลง ในขณะที่จำนวนของผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่มีการสมรสกลับเพิ่มมากขึ้นจาก 1.5 ล้านคู่ในปี 1990 มาเป็น 2.4 ล้านคู่ เทียบเท่าได้กับสามีภรรยาทุกๆ 6 คู่มี 1 คู่ที่ใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่ได้มีการสมรส

* การหย่าร้าง 120,000 คู่

  ลักษณะทางครัวเรือน

ร้อยละ 31.3 คู่สามีภรรยาพร้อมบุตร
ร้อยละ 30.5 ครัวเรือนที่มีประชากรอยู่คนเดียว
ร้อยละ 29.2 คู่สามีภรรยาที่ยังไม่มีบุตร
ร้อยละ 7 ครอบครัวที่มีเพียงบิดาหรือมารดาเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง
ร้อยละ 2 ครัวเรือนที่มิได้จัดอยู่ในประเภทข้างต้นและไม่มีครอบครัว

  ประชากรตามหมวดอายุ

 

ร้อยละ 58.5 อายุระหว่าง 20-64 ปี
ร้อยละ 25.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 16.1 อายุ 65 ปีและมากกว่า

 

อายุเฉลี่ยของประชากร 37 ปี

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.insee.fr

ศาสนา

สาธารณรัฐฝรั่งเศสมิใช่รัฐทางศาสนา ประชากรทุกคนสามารถเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้อย่างเสรี
 

การศึกษา

ในปี 2000 ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.97 หมื่นล้านยูโร เท่ากับร้อยละ 7.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และร้อยละ 37 ของงบประมาณทั้งหมด หากคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 1,570.22 ยูโรหรือ 5,671.10 ยูโรต่อนักเรียน 1 คน

ระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

 

นักเรียน 12,236,000 คน
ครูผู้สอน 866,000 คน
โรงเรียน 70,668 แห่ง

 

อัตราส่วนครูต่อนักเรียนเท่ากับ 1/14
อัตราการสอบผ่านระดับมัธยมศึกษา (ปี 2000) ร้อยละ 79.5

  ประชากรในวัยทำงาน

ฝรั่งเศสมีประชากรในวัยทำงานประมาณ 26.5 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นผู้ที่มีงานทำ 19.5 ล้านคนและผู้ที่กำลังอยู่ในระหว่างการหางาน 2.35 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9 ของประชากรวัยทำงาน (มกราคม 2001) และร้อยละ 62 เป็นประชากรวัยทำงานเพศชาย สำหรับเพศหญิงร้อยละ 48
 

สถานภาพการทำงาน (ปี 2000)

ร้อยละ 29 ลูกจ้าง จำนวน 7,705,000 คน
ร้อยละ 26.7 กรรมกร จำนวน 7,096,000 คน
ร้อยละ 19.4 พนักงานระดับกลาง จำนวน 5,153,000 คน
ร้อยละ 12.2 ผู้บริหารและนักวิชาการ จำนวน 3,246,000 คน
ร้อยละ 6.2 ช่างฝีมือ พ่อค้า เจ้าของกิจการ จำนวน 1,651,000 คน
ร้อยละ 2.5 เกษตรกรและคนงานในภาคการเกษตร จำนวน  671,000 คน
ร้อยละ 1.3 คนว่างงานที่ยังไม่เคยทำงาน จำนวน  350,000 คน

 

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.insee.fr

มาตรฐานการครองชีพ

    รายได้เฉลี่ยสุทธิต่อปีเท่ากับ 19,938 ยูโร
    เงินออมเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 1,829 ยูโร คิดเป็นร้อยละ 15.6 ของรายได้สุทธิ
     

    ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน

     

ร้อยละ 24.4 ที่อยู่อาศัย ไฟฟ้าและเครื่องทำความร้อน
ร้อยละ 18.1 อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ
ร้อยละ 15.2 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสาร
ร้อยละ 11.6 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้เวลาว่างและกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ร้อยละ 6.5 อุปกรณ์เครื่องใช้และค่าทำนุบำรุงที่อยู่อาศัย
ร้อยละ 5.3 เครื่องนุ่งห่ม
ร้อยละ 3.6 ค่ารักษาพยาบาลและยา
ร้อยละ 15.3 ค่าใช้จ่ายหมวดบริการและเบ็ดเตล็ด (ภัตตาคาร เดินทางท่องเที่ยว …)

รายได้ต่อเดือน

รายได้ขั้นต่ำต่อเดือน (ยังไม่ได้หักภาษี) ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2000 เท่ากับ 1,082.60 ยูโร หรือเท่ากับ 6.41 ยูโรต่อชั่วโมง    รายได้เฉลี่ยต่อปีของครัวเรือน

 

อาชีพอิสระ 70,126 ยูโร
ผู้บริหาร 37,796 ยูโร
ช่างเทคนิคและผู้ควบคุมงาน 21,672 ยูโร
เกษตรกรและคนงานในภาคการเกษตร 21,114 ยูโร
อาชีพอื่นๆที่อยู่ในระดับกลาง 20,990 ยูโร
แรงงานที่มีทักษะ 15,547 ยูโร
ลูกจ้าง 14,897 ยูโร
แรงงานทั่วไป 13,250 ยูโร

 

การลาพักผ่อน

ตามกฎหมาย ชาวฝรั่งเศสสามารถลาพักผ่อนได้ 5 อาทิตย์ต่อปี และร้อยละ 69 ของชาวฝรั่งเศสจะเดินทางท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆในระหว่างการลาพัก

สหภาพแรงงาน

ชาวฝรั่งเศสประมาณ 2 ล้านคนเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8 ของประชากรในวัยทำงานและนับเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในในสหภาพยุโรป

สหภาพแรงงานที่สำคัญๆได้แก่ CGT (Confédération générale du travail) CFDT (Confédération démocratique du travail) FO (Force ouvrière) CFTC (Confédération française des travailleurs chrétiens ) และ FSU (Fédération syndicale unitaire)

การประกันสังคม

ระบบประกันสังคมของฝรั่งเศส (หรือที่เรียกว่า la Sécurité Sociale) เริ่มขึ้นในปี 1945 โดยอยู่บนหลักการของการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการส่งเงินเข้าสมทบกองทุน (สิทธิประโยชน์ที่ได้รับมาจากเงินที่สมทบเข้ากองทุนในแต่ละเดือนของผู้ทำงาน) ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสังคมคิดเป็นร้อยละ 29 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทั้งนี้เงินอุดหนุนระบบหลักของกองทุนประกันสังคม ร้อยละ 67 มาจากเงินที่นายจ้างและลูกจ้างจ่ายสมทบและอีกร้อยละ 16 มาจากภาษีอื่นๆ ที่เก็บจากรายได้อันมิได้มาจากการทำงาน เช่น ภาษี Contribution sociale généralisée ที่จัดเก็บเพื่อนำเข้ากองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะ ส่วนเงินอุดหนุนจากภาครัฐมีเพียงหนึ่งในห้าของกองทุน สิทธิประโยชน์ต่างๆของระบบประกันสังคมมีทั้งในรูปของเงินบำนาญของผู้เกษียนอายุ (ร้อยละ 49.2) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสุขภาพ (ร้อยละ 27.2) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับครอบครัว (ร้อยละ 12.8) และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ เช่น การชดเชยการว่างงาน การอบรมวิชาชีพ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม (ร้อยละ 8.4) ด้วยเหตุที่สัดส่วนของผู้เกษียณมีแต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้การเงินในระบบหลักของกองทุนประกันสังคมต้องติดลบ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้รับการชดเชยจากการจัดเก็บภาษีเพื่อลดภาระหนี้ของกองทุน (ภาษี Contribution pour le remboursement de la dette sociale) ซึ่งได้ผลเป็นอย่างมาก เพราะทำให้สภาพการขาดทุนจาก 2.03 พันล้านยูโรในปี 1998 เหลือเพียง 609.8 ล้านยูโรในปี 1999

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.travail.gouv.fr

สุขภาพ

ปัญหาสุขภาพถือเป็นสิ่งที่ชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ชาวฝรั่งเศสใช้จ่ายเงินสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพในปี 1999 เป็นจำนวนเงิน 1.37 หมื่นล้านยูโร
โดยปกติกองทุนของระบบประกันสังคม (la Sécurité Sociale) จะชดเชยเงินคืนเพียงร้อยละ 75 ดังนั้นส่วนที่แต่ละครัวเรือนและบริษัทประกันภัยต้องรับผิดชอบจะมีแต่เพิ่มขึ้น สิ่งที่สะท้อนได้เป็นอย่างดีถึงความวิตกกังวลในเรื่องสุขภาพของชาวฝรั่งเศสก็คือ การประกันสุขภาพเป็นเพียงระบบเดียวที่ประสบปัญหาการเงินติดลบทั้งๆที่ได้มีการปฏิรูปในหลายๆด้านแล้ว (0.91 พันล้านยูโร)

วัฒนธรรมและการพักผ่อนหย่อนใจ
 

 

ในปี 2000 กระทรวงวัฒนธรรมได้รับงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 2.45 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางวัฒนธรรมสูงถึง 1.143 หมื่นล้านยูโร โดยครึ่งหนึ่งมาจากงบประมาณของรัฐบาลและอีกครึ่งหนึ่งมาจากงบประมาณขององค์กรในระดับท้องถิ่น

ในแต่ละปี ครอบครัวชาวฝรั่งเศสใช้จ่ายเงินเกี่ยวกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม การบันเทิง กีฬาและการเล่นต่างๆโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1,021.41 ยูโรหรือเท่ากับร้อยละ 3.5 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของครัวเรือน

หนังสือ

ในปี 1999 หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์มีทั้งหมด 49,808 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นการพิมพ์ครั้งแรก 24,485 เรื่อง และเป็นการพิมพ์ซ้ำ 25,323 เรื่อง

ในปีเดียวกัน มีการจำหน่ายหนังสือออกไปทั้งสิ้นจำนวน 411 ล้านเล่มจากสำนักพิมพ์ 331 แห่ง

ยอดจำหน่ายของสำนักพิมพ์ในปี 1999 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2.13 พันล้านยูโร

หนังสือพิมพ์

ชาวฝรั่งเศสร้อยละ 36 อ่านหนังสือพิมพ์รายวันทุกวัน ทั้งนี้มีหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกจำหน่ายทั่วทั้งประเทศ 7 ฉบับและเฉพาะในระดับท้องถิ่นอีก 160 ฉบับ

ในแต่ละปี มียอดการพิมพ์จำหน่ายโดยรวม 9 พันล้านฉบับ

นิตยสาร

ในจำนวนนิตยสารที่มียอดจำหน่ายติด 100 อันดับแรก มี 6 ฉบับที่ยอดพิมพ์สูงกว่า 1 ล้านเล่ม และ 8 ฉบับที่มียอดพิมพ์สูงกว่า 5 แสนเล่ม

เมื่อเทียบจำนวนของนิตยสารที่ออกจำหน่ายกับจำนวนประชากร พบว่า ชาวฝรั่งเศสติดอันดับชาติที่ชอบอ่านนิตยสารมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก (จำนวน 1,345 ฉบับต่อประชากร 1,000 คน)

โทรทัศน์

โทรทัศน์ถือเป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่ชาวฝรั่งเศสนิยมมากที่สุด เวลาโดยเฉลี่ยที่หมดไปกับการดูโทรทัศน์เท่ากับ 3 ชั่วโมง 15 นาทีต่อคนต่อวัน

สถานีโทรทัศน์มีมากกว่า 130 ช่อง ในจำนวนนี้

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tv5.org

วิทยุ

บริษัท Radio France เป็นบริษัทที่รวมกลุ่มสถานีวิทยุที่เป็นของรัฐ ได้แก่ France Inter, France Info (เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง) France Culture, Radio Bleue และ FIP

ส่วนสถานีที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนประกอบไปด้วย RTL (สถานีวิทยุที่มีผู้ฟังมากที่สุดของฝรั่งเศส) Europe 1, Radio Monte Carlo และสถานีอื่นๆอีกมากมายที่เสนอทั้งเรื่องราวทั่วๆไปและที่เน้นไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น สถานีที่มีแต่รายการดนตรี หรือนำเสนอสาระความรู้ บริการสาธารณะและบริการท้องถิ่น สถานีทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสถานีกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม

สำหรับสถานีที่มีกำลังส่งไปยังประเทศอื่นๆนอกฝรั่งเศส ได้แก่ สถานี Radio France Internationale (มีผู้ฟังประมาณ 30 ล้านคนทั่วโลก) และ RMC-Moyen-Orient ส่งกระจายเสียงไปยังประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ส่วนสถานี MEDI 1 เน้นไปยังผู้ฟังใน 3 ประเทศทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา (อัลจีเรีย ตูนีเซียและโมร็อกโก)

 ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.rfi.fr

สารสนเทศและมัลติมีเดีย

แม้ว่าร้อยละ 46 ของคนฝรั่งเศสมองว่า คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการประกอบอาชีพมากกว่าจะใช้เพื่อการอื่น แต่ร้อยละ 23 ของครัวเรือนกลับมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้ที่บ้าน

อินเทอร์เน็ตซึ่งถือเป็นรูปแบบใหม่ของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีชาวฝรั่งเศสประมาณ 4 ล้านคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงานและที่บ้าน

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้อินเทอร์เน็ตในฝรั่งเศสได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งองค์กร หนังสือพิมพ์รายวัน หน่วยงานของรัฐ บริษัท ต่างมีเว็บไซต์ของตนเองนำเสนอข้อมูลข่าวสารในหลายๆแง่มุม (กีฬา การศึกษา การบริการรูปแบบต่างๆ ภาพยนตร์…)

เว็บไซต์ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ เว็บไซต์ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านต่างๆ เว็บไซต์ของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (เช่น เว็บไซต์ของ Wanadoo ของ France Telecom) และเว็บไซต์ที่เสนอการบริการในรูปแบบต่างๆ

ภาพยนตร์

ฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศผู้คิดค้นภาพยนตร์ขึ้นในโลกเมื่อปี 1895 ยังคงมีผลงานทางด้านนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2000 มีการผลิตภาพยนตร์จำนวนทั้งสิ้น 171 เรื่อง (อันดับ 2 ของโลกในแง่ของการลงทุนทางด้านภาพยนตร์)

ในบรรดาภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ จะเห็นได้ชัดว่าสาธารณชนฝรั่งเศสค่อนข้างชอบภาพยนตร์ที่มีการแต่งกายย้อนยุคและที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น Le Pacte des loups, Astérix et Obélix, และ Le Roi danse ทั้ง 3 เรื่องนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมหลายล้านคน

   ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cnc.fr

ดนตรีและการเต้นรำ

ฝรั่งเศสมีนักแสดงละครและนักเต้นรำประมาณ 11,300 คนและศิลปินที่เป็นนักดนตรี นักร้องเพลงคลาสสิกอีก 16,200 คน ในแต่ละปีจะมีเทศกาลดนตรี โอเปร่าและการเต้นรำประมาณ 250 งาน นอกจากนี้ยังมีนักร้องเพลงสมัยใหม่อีก 8,700 คน

ในส่วนของศิลปินสมัครเล่นมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ได้มีการสอนทั้ง 2 สาขามากขึ้น (หากนับเฉพาะสาขาดนตรี สถาบันที่สอนมี 4,300 แห่ง)

การละคร

จำนวนผู้เข้าชมละครในแต่ละปีมีประมาณ 8 ล้านคนจากการแสดง 50,000 รอบ (ทั้งในโรงละครระดับประเทศ ศูนย์ศิลปะการละครระดับชาติ และโรงละครของเอกชน) ในฝรั่งเศสคณะละครอิสระซึ่งมีกว่าพันคณะจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้นิยมชมชอบศิลปะแขนงนี้นอกเหนือไปจากการแสดงตามโรงละครใหญ่ๆในกรุงปารีสและปริมณฑล รวมทั้งในเมืองใหญ่ต่างๆ และตามงานเทศกาลที่มีชื่อเสียง เช่น งานเทศกาลที่เมือง Avignon

พิพิธภัณฑ์และสถานที่ทางประวัติศาสตร์

ฝรั่งเศสมีพิพิธภัณฑ์ประมาณ 1,200 แห่งซึ่งสามารถดึงดูดผู้ชมได้หลายสิบล้านคนในแต่ละปี เฉพาะพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Louvre) พระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) และพิพิธภัณฑ์ออร์เซ่ (Musée d'Orsay) มีผู้เข้าชมเกือบ 15 ล้านคน

ตามเมืองต่างๆส่วนมากมักจะมีพิพิธภัณฑ์อย่างน้อยหนึ่งแห่งตั้งอยู่ ในส่วนของสถานที่ทางประวัติศาสตร์มีมากกว่า 1,500 แห่งที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม (8 ล้านคนต่อปี) ซึ่งรวมทั้งหอไอเฟล (Eiffel) ที่นับเป็นสถานที่ๆมีผู้เข้าชมมากที่สุด (6 ล้านคนต่อปี) นอกจากนี้ ยังมีอาคารอีก 38,000 แห่งที่ได้รับการอนุรักษ์ให้ป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม

   

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.culture.gouv.fr

กีฬา

การเล่นกีฬามีการพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จำนวนสมาชิกสังกัดสมาคมกีฬาต่างๆมีเกือบ 10 ล้านคน เทนนิสและฟุตบอลเป็นสมาคมที่มีสมาชิกมากที่สุด ส่วนยูโด เปตอง ขี่ม้า แบดมินตันและกอล์ฟเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้กีฬาประเภทการค้นหาและการผจญภัย เช่น จักรยานวิบาก การเดินป่า การปีนเขา การเล่นเครื่องร่อน การพายเรือแคนูและคายัก ก็มีผู้นิยมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.jeunesse-sports.gouv.fr

งานนิทรรศการและงานเทศกาลต่างๆ

ชาวฝรั่งเศสชอบเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในงานเทศกาลทั้งทางวัฒนธรรมและบันเทิงที่มีการจัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น งานนิทรรศการเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต งานวันพิทักษ์มรดกของชาติ เทศกาลดนตรี งานเทศกาลส่งเสริมการอ่าน สัปดาห์วิทยาศาสตร์

ในแต่ละปี การจัดงานเหล่านี้จะได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง

งานวันพิทักษ์มรดกของชาติจะเปิดให้เข้าชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่โดยปกติสาธารณชนไม่สามารถเข้าชมได้ (กระทรวงต่างๆ สถานทูต บริษัท ธนาคาร)

ส่วนงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์และบทบาทของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสังคม

ในส่วนของงานนิทรรศการหนังสือและการส่งเสริมการอ่าน จะเป็นในรูปของการจัดให้มีการพบปะนักเขียน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการประพันธ์ การประกวดแต่งเรื่องสั้นและทำความรู้จักกับอาชีพที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ

สำหรับงานนิทรรศการเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต จะเน้นให้สาธารณชนทราบถึงข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของสังคมข้อมูลข่าวสาร
 

 

เศรษฐกิจ

 

เมื่อดูจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา รวมไปถึงภาคธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า)

ในปี 2000 ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้าถึง 1.403 หมื่นล้านยูโร ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกทางด้านสินค้าทุน (ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์) และเป็นอันดับ 2 ในส่วนของภาคบริการและทางด้านเกษตรกรรม (โดยเฉพาะธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) ส่วนในระดับภูมิภาคยุโรป ฝรั่งเศสนับเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุด

นอกจากนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 63 (ร้อยละ 50 เฉพาะประเทศในโซนยูโร)

ในด้านการลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งนี้เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส การค้นคว้าวิจัยขั้นสูง เทคโนโลยีชั้นสูงที่ก้าวหน้ามาก เสถียรภาพของค่าเงิน และการควบคุมต้นทุนการผลิต

  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (PIB) ปี 2000 มีมูลค่า1.4048 ล้านล้านยูโร
  • อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปี 2000 คิดเป็นร้อยละ 3.1
  • อัตราเงินเฟ้อคิดเป็นร้อยละ 1.6
  • ดุลการค้าเกินดุลมีมูลค่า 1.403 หมื่นล้านยูโร

เกษตรกรรม

จำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 680,000 แห่ง
ประชากรในวัยทำงานในภาคการเกษตร 885,000 คน
พื้นที่เพาะปลูก 33,000,000 เฮกตาร์หรือเท่ากับร้อยละ 60 ของฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป

  ผลิตผลทางการเกษตรหลัก

  • ธัญพืช 66 ล้านตัน ในจำนวนนี้ 35.9 ล้านตันเป็นข้าวสาลีและ 16 ล้านตันเป็นเมล็ดข้าวโพด ฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปและเป็นอันดับ 5 ของโลก
  • ไวน์ 54 ล้านเฮกโตลิตร อันดับสองในโลกและในสหภาพยุโรปรองจากอิตาลี
  • นม 23 ล้านลิตร อันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากเยอรมันและเป็นอันดับ 5 ของโลก
  • หัวผักกาดหวาน 31 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรปและอันดับสองของโลก
  • เมล็ดพืชที่ให้น้ำมัน 5.5 ล้านตัน ผลิตได้เป็นอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรป

   การทำปศุสัตว์

จำนวนโค 20 ล้านตัว
จำนวนสุกร 16 ล้านตัว
จำนวนแกะ 9.4 ล้านตัว
จำนวนแพะ 1 ล้านตัว

  การผลิตเนื้อสัตว์

ปริมาณเนื้อโคที่ผลิตได้ 1.9 ล้านตัน
ปริมาณเนื้อสุกรที่ผลิตได้ 2.3 ล้านตัน
ปริมาณเนื้อแพะและแกะที่ผลิตได้ 1.45 ล้านตัน
ปริมาณเนื้อสัตว์ปีกที่ผลิตได้ 2.3 ล้านตัน

การทำป่าไม้

พื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 16 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 29 ของพื้นที่ทั้งประเทศและหากเทียบกับขนาดพื้นที่ของประเทศถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป นับแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 และเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปีๆละประมาณ 51,000 เฮกตาร์ ป่าไม้ส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสจะเป็นไม้ผลัดใบ ส่วนที่เป็นไม้สนจะมีเพียงแค่หนึ่งในสาม

สำนักงานป่าไม้แห่งชาติ (Office national des forêts) จะเป็นผู้ดูแลการบริหารพื้นที่ป่าไม้ทั้งในส่วนที่เป็นของรัฐ (1,750,000 เฮกตาร์) และส่วนที่เป็นขององค์กรบริหารในระดับท้องถิ่น (2,850,000 เฮกตาร์)

ส่วนที่เหลืออีก 10,500,000 เฮกตาร์เป็นการถือครองของเอกชนรายย่อยประมาณ 3,800,000 ราย ป่าไม้ของฝรั่งเศสมีทั้งความหลากหลายของพันธุ์ไม้และมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ในแต่ละปี ยังสามารถผลิตวัตถุดิบไม้ได้ 53 ล้านลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตาม พายุที่โหมกระหน่ำฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม 1999 ได้ทำความเสียหายให้แก่ป่าไม้คิดเป็นจำนวน 30 ล้านลูกบาศก์เมตร

 พลังงาน

อัตราส่วนของพลังงานที่ฝรั่งเศสผลิตได้เองคิดเป็นร้อยละ 49
ปริมาณการใช้พลังงานสิ้นเปลืองเท่ากับ 253.6 ล้านตัน
บริษัทผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมพลังงาน คือ TOTALFINAELF และ EDF-GDF

  สัดส่วนการใช้พลังงานชนิดต่างๆ

น้ำมันร้อยละ 40
ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำและนิวเคลียร์ร้อยละ 36
ก๊าซร้อยละ 14
ถ่านหินร้อยละ 6
พลังงานรูปแบบใหม่ (พลังงานลมและแสงอาทิตย์) ร้อยละ 4.7

ปริมาณการผลิตไฟฟ้าเท่ากับ 5.09 แสนล้านกิโลวัตต์และร้อยละ 76 มาจากพลังงานนิวเคลียร์
ค่าใช้จ่ายในการผลิตและซื้อพลังงาน 1.17 หมื่นล้านยูโร

อุตสาหกรรม

  ประเภทของอุตสาหกรรมของฝรั่งเศสที่มีศักยภาพ

  •    งานก่อสร้างอาคารและงานก่อสร้างขนาดใหญ่

ยอดเงินหมุนเวียนต่อปี 9.315 หมื่นล้านยูโร
ในบรรดากลุ่มบริษัทก่อสร้างชั้นนำของยุโรป มีของฝรั่งเศสอยู่ 5 กลุ่ม (Bouygues อันดับ 1 ของยุโรป, SGE-Vivendi, Groupe GTM, Eiffage และ Colas)

  •    อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร

ยอดเงินหมุนเวียนต่อปี 1.119 แสนล้านยูโร
จำนวนบุคลากรทำงานในสาขานี้ 398,000 คน
ชนิดของอุตสาหกรรมจะมีทั้งการแปรรูปเนื้อ นม เมล็ดพืช ลูกอม เครื่องดื่มและแอลกอฮอล์
ฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกรายใหญที่สุดและเป็นอันดับ 2 สำหรับการผลิตของสหภาพยุโรปในอุตสาหกรรมประเภทนี้
ดุลการค้าเกินดุลคิดเป็นเงิน 7.17 พันล้านยูโร
จำนวนของบริษัทในอุตสาหกรรมประเภทนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 4,200 บริษัท
กลุ่มบริษัทชั้นนำได้แก่ Danone, Eridania Beghin-Say, Nestlé France, Besnier, Pernod-Ricard, Seita, Sodiaal, Socopa et Bongrain

  •    อุตสาหกรรมเคมี

ยอดเงินหมุนเวียนต่อปี 7.0126 หมื่นล้านยูโร
จำนวนบุคลากร 236,500 คน
บริษัทชั้นนำได้แก่ Air Liquide, Rhodia, Hutchinson และ Atofina

  •    อุตสาหกรรมแฟชั่นและสินค้าฟุ่มเฟือย

อุตสาหกรรมสาขานี้จะประกอบด้วยแฟชั่นเสื้อผ้าชั้นสูง เครื่องเพชร เครื่องประดับ เครื่องหนังชั้นสูง น้ำหอม เครื่องสำอางและคริสตัล
บริษัทชั้นนำได้แก่ Yves-Saint-Laurent, Louis Vuitton, Chanel, Baccarat, Hermès, Jean-Paul Gaultier, Christian Dior และ Cartier
ยอดเงินหมุนเวียน 3.14 หมื่นล้านยูโร
จำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมประเภทนี้ 222,000 คน

  •    อุตสาหกรรมยา

ยอดเงินหมุนเวียนต่อปี 2.84 หมื่นล้านยูโร
บุคลากรในอุตสาหกรรมประเภทนี้มีจำนวน 94,500 คน
ฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 4 ของโลกและผู้ส่งออกอันดับที่ 5 ของโลก
บริษัทชั้นนำได้แก่ Sanofi-Synthélabo, Biomérieux-Pierre Fabre, Servier et Aventis-Pharma (บริษัทนี้เป็นการรวมกิจการระหว่างบริษัท Rhône-Poulenc ของฝรั่งเศส และบริษัท Hoechst ของเยอรมัน)

  •    อุตสาหกรรมรถยนต์

ยอดเงินหมุนเวียนต่อปี 9.522 หมื่นล้านยูโร
ฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลกสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล
ในปี 1999 ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้าในสาขานี้ถึง 8.22 พันล้านยูโร
PSA (Peugeot-Citroën) และ Renault เป็นบริษัทผู้นำ 2 อันดับแรกในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ จำนวนของรถยนต์ที่ผลิตในปี 2000 มีทั้งสิ้น 5,322,000 คัน
จำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมประเภทนี้ 271,920 คน

  •    อุตสาหกรรมแปรรูปวัสดุ (เหล็ก อะลูมิเนียม แก้ว พลาสติก ยางพารา)

ยอดเงินหมุนเวียน 4.279 หมื่นล้านยูโร
บริษัทชั้นนำได้แก่ กลุ่ม Usinor (แปรรูปเหล็ก) Péchiney (แปรรูปอะลูมิเนียม) Saint-Gobain ( ผู้นำในการผลิตแก้วอันดับ 1 ของโลก และอันดับ 2 ในการส่งออกของโลก ) Plastic Omnium และ Sommier Allibert เป็นบริษัทชั้นนำของฝรั่งเศสในการแปรรูปพลาสติก ส่วน Michelin เป็นอันดับ 1 ของโลกในการผลิตยางรถยนต์

  •    โทรคมนาคมและเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

ยอดเงินหมุนเวียนต่อปี 6.723 หมื่นล้านยูโร
คู่สายโทรศัพท์มีจำนวน 34 ล้านคู่สาย
ปริมาณการใช้บัตรโทรศัพท์ในปี 1998  100 ล้านใบ
บริษัท France Telecom ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 49.5 บริษัท Cegetel-SFR ร้อยละ 37.5 และอีกร้อยละ 13 เป็นของบริษัท Bouygues Telecom
จำนวนการใช้โทรศัพท์มือถือได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนของผู้ใช้ตามสถิติเดือนมกราคม ปี 2000 สูงถึง 19 ล้านคน (มกราคม 2000)
ในด้านโทรคมนาคม บริษัท Alcatel เป็นผู้ผลิตอันดับ 4 ของโลกทางด้านอุปกรณ์โทรคมนาคม อีกทั้งยังเป็นอันดับ 1 ของโลกทางด้านระบบสื่อสัญญาณโทรคมนาคมและบริษัทแนวหน้าทางด้านระบบเคเบิลใต้น้ำ
ส่วนบริษัทชั้นนำทางด้านโทรทัศน์ระบบดิจิตัลคือ Thompson Multimédia ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องแปลงสัญญาณของโทรทัศน์ระบบดิจิตัล
ยอดเงินหมุนเวียนเฉพาะพาณิชย์อิเล็กโทรนิคส์เท่ากับ 2.29 พันล้านยูโร

  •    อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ
 ยอดเงินหมุนเวียน 1.985 หมื่นล้านยูโร
จำนวนบุคลากรในอุตสาหกรรมประเภทนี้ 95,300 คน
บริษัทชั้นนำได้แก่ Matra Aérospatiale (สมาชิกของกลุ่ม Airbus Industrie ของยุโรป) Dassault Aviation , Eurocopter France, Hispano –Suiza และ Snecma

ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.industrie.gouv.fr/francetech

  การค้นคว้าวิจัยและการพัฒนา

ค่าใช้จ่ายในสาขานี้ของฝรั่งเศสสูงถึง 2.866 หมื่นล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 2.2 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งถือเป็นอันดับ 3 ในบรรดาประเทศกลุ่มองค์กรความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OCDE)

ภาครัฐให้การสนับสนุนทางการเงินร้อยละ 46 ในการบริหารสถาบันวิจัยใหญ่ๆระดับประเทศ อาทิเช่น สถาบัน CNRS (ในทุกสาขาวิชา) สถาบัน INSERM (สาขาแพทย์) สถาบัน INRA (สาขาเกษตร) ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลบำรุงรักษาอาคาร เงินเดือนบุคลากร ค่าอุปกรณ์เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

อีกร้อยละ 54 เป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัยของภาคเอกชนซึ่งมักจะเน้นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงในสาขาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ผลิตภัณฑ์ยา รถยนต์ อุปกรณ์สื่อสารและเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงสูง ในบรรดาประเทศกลุ่มองค์กรความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OCDE) ฝรั่งเศสเป็นผู้นำอันดับ 3 ทางสาขานี้ รองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
 

  การขนส่ง

  •    การคมนาคมทางรถยนต์

ถนนหนทางในฝรั่งเศสนับได้ว่าหนาแน่นที่สุดในโลกและมีความยาวเป็นอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรป กล่าวคือ 965,916 กิโลเมตร (เส้นทางเชื่อมหมู่บ้าน ถนนเชื่อมระหว่างจังหวัด ทางหลวงและทางด่วน) เฉพาะทางด่วนมีความยาว 10,000 กิโลเมตร (อันดับ 2 ของยุโรป)
การขนส่งสินค้าร้อยละ 76 เป็นการใช้เส้นทางลำเลียงทางรถยนต์ อย่างไรก็ตาม การขนส่งโดยใช้การคมนาคมหลายรูปแบบผสมกันมีเพิ่มมากขึ้น

  •    การคมนาคมทางรถไฟ

มีความยาวทั้งสิ้น 31,770 กิโลเมตร (1 มกราคม 2000)
TGV (train à grande vitesse) รถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศสเป็นผู้ครองสถิติรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วที่สุดในโลก (515 ก.ม./ชั่วโมง) รถไฟชนิดนี้ต้องวิ่งบนทางพิเศษซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 1,281 กิโลเมตรและความเร็วขณะวิ่งรับส่งผู้โดยสารเท่ากับ 270 ก.ม./ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
ในแต่ละปี จำนวนผู้เดินทางโดยใช้ทางรถไฟแบบธรรมดามีทั้งสิ้น 295 ล้านคนและ 71 ล้านคนสำหรับรถไฟ TGV นอกจากนี้อีกจำนวน 528 ล้านคนบนเส้นทางรถไฟสายปารีสและปริมณฑล ส่วนปริมาณสินค้าที่ขนส่งโดยรถไฟมีน้ำหนักทั้งสิ้น 1.338 แสนล้านตัน

  •    การคมนาคมทางอากาศ

ในแต่ละปี มีผู้เดินทางโดยทางเครื่องบินกว่า 100 ล้านคนและปริมาณสินค้าขนส่งทางเครื่องบินมีน้ำหนักทั้งสิ้น 4.8 พันล้านตัน จำนวนยานพาหนะทางอากาศ (เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์) ที่จดทะเบียนในฝรั่งเศสมี 904 ลำ
สถิติเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศของสนามบินต่างๆในกรุงปารีส

จำนวนการขึ้นลงของเครื่องบินพาณิชย์(ปี 2000) มี 747,500 เที่ยว
จำนวนผู้โดยสาร 76.6 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 8 ของโลก)
น้ำหนักสินค้า พัสดุและไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ใช้การขนส่งทางเครื่องบิน 1.7 ล้านตัน (ปี 2000)

  •     พาณิชย์นาวี

ในแต่ละปี เรือสินค้าประมาณ 200 ลำพร้อมระวางโดยรวม 4.1 ล้านตัน บรรทุกสินค้าจำนวน 91.5 ล้านตัน
กองเรือพาณิชย์ของฝรั่งเศสมีระวางความจุเป็นอันดับ 28 ของโลก
เมืองมาร์เซย์เป็นเมืองท่าอันดับหนึ่งของฝรั่งเศสและของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อีกทั้งยังเป็นเมืองท่าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป มีสินค้าผ่านเข้าออกสูงถึง 95 ล้านตัน

ภาคบริการและอื่นๆ

   ภาคการเงินและการธนาคาร

มูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นปารีสคิดเป็นจำนวนเงิน 1.496 ล้านล้านยูโร เทียบเท่าร้อยละ 50 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของฝรั่งเศส และนับเป็นอันดับ 7 ของโลก
ธนาคารสำคัญๆ ของฝรั่งเศส คือ Crédit agricole, Société Générale และ Banque nationale de Paris (BNP)

  การประกันภัย

ยอดเงินประกันภัยปีละ 1.555 แสนล้านยูโร ทำให้ฝรั่งเศสติดอันดับ 4 ของโลกทางด้านนี้
AXA (บริษัทประกันภัยอันดับหนึ่งของยุโรป) CNP และ AGF เป็นบริษัทประกันภัย 3 อันดับแรกของฝรั่งเศส การประกันภัยต่อบุคคล (ชีวิตและสุขภาพ)มีอัตราที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8)
นับเป็นครั้งแรกที่การประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหาย ( ทรัพย์สินและความรับผิดชอบ) กลับลดลง บุคลากรที่ทำงานในภาคประกันภัยมีทั้งหมด 200,000 คน

  การท่องเที่ยว


ฝรั่งเศสนับเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุดในโลก คือ 71 ล้านคน

เพื่อรองรับอุตสาหกรรมด้านนี้ ฝรั่งเศสมีโรงแรม 20,000 แห่ง สถานที่ตั้งแคมป์ 8,000 แห่ง หมู่บ้านตากอากาศ 890 แห่ง บ้าน